×
แชทกับหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง
ยินดีให้บริการค่ะ....
ออกตรวจสุขลักษณะฟาร์มหมู หมู่ที่ 16 บ้านจอก
รายละเอียด : วันที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ 2566 นาย ณรงค์ วิไลรัตน์ (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง)พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และ นายเกรียงศิลป์ ชนแดง(ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ) นางสาวประกายรัตน์ สมคิด(เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน) ลงพื้นที่หมู่ที่ 16 บ้านจอก เพื่อออกตรวจสุขลักษณะฟาร์มหมู สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสุกร ตาม หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการของเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการ (1) การจัดการมูลฝอย (ก) มูลฝอยต้องจัดให้มีภาชนะรองรับที่เพียงพอและถูกหลักสุขาภิบาล คัดแยกมูลฝอย ทั่วไป มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน เช่น วัสดุมีคม เข็มฉีดยา ยาเสื่อมสภาพ ภาชนะ บรรจุสารเคมี และนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสม และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ข) การจัดการมูลสุกร ให้รวบรวมและบำบัดด้วยวิธีการตาก หมัก ระบบแก๊สชีวภาพ หรือวิธีการอื่นใดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ ต้องมีระบบ วิธีการ หรือมีโครงสร้างที่สามารถ ป้องกันกลิ่นรบกวน และมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้ (ค) การจัดการซากสุกรต้องใช้วิธีที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และไม่เกิดปัญหามลพิษต่อชุมชนและ สิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ 1) วิธีการฝัง ต้องมีพื้นที่เพียงพอ อยู่ในบริเวณน้ำท่วมไม่ถึง และห่างจากแหล่งน้ำ ให้ฝังไว้ใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร โรยปูนขาวหรือราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วกลบหลุม และคลุมดินให้แน่น เหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ไปคุ้ยเขี่ย 2) วิธีการเผา ให้ทำในบริเวณที่เหมาะสมและเผาซากจนหมด ตามประกาศกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) วิธีการทิ้งในบ่อทิ้งซากของสถานประกอบกิจการ ต้องถูกสุขลักษณะ โดยต้อง กำจัดซากสุกรในบ่อที่ปิดมิดชิด และมีประสิทธิภาพสามารถป้องกันกลิ่น แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะ นำโรคได้ 4 ) วิธีการอื่นใดให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ราชการกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ง) กรณีสุกรป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ สุกรเป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่าเป็นโรคระบาด ต้องมีการจัดการซากสุกรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง (2) การจัดการมลพิษ (ก) ทำความสะอาดตัวสุกร คอกสุกร และรางให้อาหาร มิให้เกิดการสะสมของ น้ำปัสสาวะ มูลสุกร และเศษอาหาร เพื่อลดปัญหากลิ่นรบกวน (ข) จัดให้มีและบำรุงรักษาท่อ รางระบายน้ำเสีย หรือน้ำทิ้งให้อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้ สะอาด ปราศจากน้ำขังและการสะสมของมูลสุกรหรือกากตะกอน เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวนและการเป็น แหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค (ค) การบำบัด หรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียจากการประกอบกิจการ ให้ดำเนินการ โดยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ สามารถรองรับปริมาณน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ ก่อนระบายสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่ภายนอก หรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ภายในสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีสถานประกอบกิจการไม่เข้าข่ายบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ดำเนินกิจการต้องมีมาตรการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น เช่น บ่อเกรอะ บ่อซึม ที่มีขนาดเหมาะสมและเพียงพอต่อปริมาณความสกปรกที่เกิดขึ้น ก่อนระบายสู่ภายนอก (ง) การจัดการกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากการจัดการน้ำเสียต้องรวบรวมและกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หรือก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในในบริเวณใกล้เคียง (จ) มาตรการลดกลิ่นอันเกิดจากการประกอบกิจการด้วยวิธีที่เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ค่ามาตรฐานความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากสถานประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ฉ) มาตรการควบคุมระดับเสียงในสถานประกอบกิจการต้องดำเนินการมิให้มีระดับเสียง เกินกว่าที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ข้อ 11 ในกรณีที่ศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ เข้ามาตั้งอยู่ใกล้กับสถานประกอบกิจการตามประกาศนี้ เป็นเหตุให้สถาน ประกอบกิจการมีระยะห่างไม่เป็นไปตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง ให้สถานประกอบกิจการนั้นจัดให้มีมาตรการ ป้องกันเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น และให้ประกอบกิจการตามเดิมต่อไปได้ ข้อ 12 สถานประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ ใช้บังคับให้ประกอบกิจการตามเดิมต่อไปได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง และข้อ 6 แต่ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณ ใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพโดยให้นำความในข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม สถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้เพิ่มจำนวนสุกรมากกว่าที่มีอยู่เดิม เว้นแต่กรณี มีเหตุจำเป็นให้นำความในข้อ 5 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่อง: มาตรการควบคุมและป้องกันเหตุรำคาญหรือผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสถานประกอบกิจการ การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสุกร พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565
ผู้โพส : admin